Surface roughness Testing part1 ( การทดสอบความเรียบผิว ตอนที่1)

Last updated: 27 May 2020  |  893 Views  | 

Surface roughness Testing part1 ( การทดสอบความเรียบผิว ตอนที่1)

Surface roughness ( part1)
ความเรียบผิว ( ตอนที่ 1 )

ความเรียบและความหยาบของผิวชิ้นงาน มีความสำคัญ มากในงานอุตสาหกรรม
ในหลายโอกาส มันถูกกำหนด เพื่อความสวยงาม และส่วนที่สำคัญคือ ความเรียบความหยาบผิว ส่งผล ต่อ ฟังค์ชั่นการใช้งาน ของชิ้นส่วน นั้นๆ ตัวอย่าง ง่ายๆ คือ เรา เชื่อว่า ผิวยิ่งเรียบ ก็ยิ่งลื่น แต่กรณี gauge block ซึ่งมีผิวขัดมัน เรียบระดับ ส่วนของไมครอน เมื่อ เอามาประกบกัน แล้วจับ ไถสองชิ้นนี้ เข้าด้วยกัน มันจะติดกันแน่น ขยับแทบไม่ได้

วิศวกร จึงมัก กำหนด ความเรียบผิว ที่ต้องการ ไปพร้อมๆ กับขนาด และค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ เสมอ

อะไรคือความเรียบผิว ( ความหยาบ)

ลองนึกถึง ภาพ ที่เราขับรถ ไปต่างจังหวัด เช่น ระยอง ถนน มีขึ้น ลง เป็น เนิน เป็นระยะ เนิน นี้ อาจเป็น ความเรียบผิว ของ งาน ชนิดหนึ่ง แต่กับ งานอีกชนิดหนึ่ง เนินนี้ ถูกมอง เป็น waviness ได้ และ ความขรุขระ ของผิวถนน กลายเป็น ความเรียบผิวของ ชิ้นงานนี้ แทน

ที่ยกตัวอย่างมา ก็อเพื่อจะ ชี้เรื่อง ที่ สำคัญในการวัดความเรียบผิว อีกเรื่องคือ ตัว pick up ที่ใช้วัด เป็นแบบไหน skid หรือ non-skid

ตามภาพนี้ ถ้าเราวัดความเรียบผิว ถนน นั่งในรถ เราจะได้ความเรียบของ ผิวถนน เราจะไม่เห็น ความเป็นคลื่น ของเนิน เหมือน มี filter ทางกล
แบบ นี้ คือ skid type

ในอีก กรณีหนึ่ง ถ้าเรา วัดความเรียบผิว โดย นั่งเครื่องบิน ผลที่ได้ คือ เราจะได้ทั้งความเรียบผิวที่ถนน และความเป็นเนิน ที่ขึ้นลงตามภูมิประเทศ แบบนี้ เรียก non-skid type

ความเข้าใจ เบื้องต้น นี้ สำคัญ ต่อการ อ่านค่า อ่านผล ต่อการเลือกใช้ เครื่องมือวัด มาก

ผู้เรียบเรียง : สมชาย พรทิพย์ประภา

สนใจ เครื่องวัดความเรียบผิว และ เครื่องมือทดสอบอื่นๆ โปรดติดต่อ

sales@mmtengineering.com
T.021870263-66
F.021870262
www.mmtengineering.com

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy